วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

เซลฟี่ นาทีสุดท้าย : ประเด็นกฎหมายโซเชียลมีเดีย โดย ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป





                กรณีนี้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา  โดย Ms Sanford   สุภาพสตรีอายุ 32  ก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ชื่นชอบการ แชะ แชร์ บนสื่อสังคมออนไลน์   
 

เมื่อไปพบเห็น ได้ยิน อะไรที่ชอบ หรือไม่ชอบ ก็เป็นธรรมดาที่เธอจะต้องโพสต์  แชร์ ไปตามปกติชีวิตประจำวัน 

ไม่ว่าจะอยู่ ที่ไหน ก็ไม่เป็นอุปสรรค  ขอให้มีโทรศัพท์ และคลื่นสัญญาณที่ใช้การได้ 

ไม่เว้นแม้แต่ขณะขับรถ  แน่นอนว่า การกระทำดังกล่าวอาจมีความผิดตามกฎหมายจราจร แต่หลายคนในหลายครั้ง ก็มักอดไม่ได้ที่จะทำผิดกฎหมายแบบนี้

วันเกิดเหตุในเดือนเมษายน ปี 2014  คุณ Sanford ก็ขับรถไปทำงานบนทางหลวง  ขณะขับก็เปิดเพลงฟังไปด้วย  เมื่อฟังแล้วรู้สึกฟินอินได้ที่ ก็เป็นธรรมดาที่อยากจะแชร์อารมณ์ ณ ห้วงเวลานั้นให้สังคมออนไลน์ได้รับรู้ 

เธอก็ถ่ายเซลฟี่ตัวเอง พร้อมกับโพสต์ข้อความ ว่าเพลงที่มีความสุขทำให้ฉันมีความสุข   มีการพิมพ์ตัวใหญ่คำว่าความสุขคำสุดท้ายด้วย เน้นให้เห็นว่า มันสุขจริงๆ  “The happy song makes me so HAPPY.”  


 

 แต่นั่น กลับกลายเป็นความสุขครั้งสุดท้ายของเธอ เมื่อในเสี้ยววินาทีต่อมา รถของเธอก็ประสบอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกและเกิดเพลิงลุกไหม้



รายงานข่าวแจ้งว่า ในตอนแรก ตำรวจไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงอื่นของอุบัติเหตุ เช่น แอลกอฮอล์ การเสพยา หรือความเร็วเกินกำหนด  จนกระทั่งมีเพื่อนของเธอมาแจ้งว่า พบข้อความหลายข้อความที่เธอโพสต์ในเวลาไล่เลี่ยกับที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งรวมทั้งภาพเซลฟี่และข้อความสุดท้ายดังกล่าว 

โฆษกตำรวจแห่ง High Point กล่าวว่า เหตุที่เกิดขึ้นแสดงถึงว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากคุณขับรถและพิมพ์ข้อความไปด้วย  “showing what happens when you text and drive



กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หากดูตามกฎหมายไทย การใช้โทรศัพท์เวลาขับรถเป็นสิ่งต้องห้ามเช่นเดียวกัน จนเกิดมหากาพย์ระหว่างตำรวจกับประชาชนมากมาย  ทั้งมีการนำกล้องคุณภาพสูงมาตรวจจับผู้กระทำผิด  มหกรรมการบังคับใช้กฎหมาย จับปรับ อย่างเข้มงวด       

การห้ามใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ คงจะต้องปรากฏอยู่ต่อไปในกฎหมายของหลายประเทศ  แต่ก็ต้องยอมรับว่า การฝ่าฝืนกฎหมายนี้ก็ยังคงจะปรากฏให้เห็นอยู่ต่อไป ไม่ว่าการบังคับใช้กฎหมายจะเกิดขึ้นอย่างเข้มงวดหรือไม่เข้มงวดก็ตาม 

เพราะพฤติกรรมเซลฟี่ แชะ แชร์   มันฝังรากลึกเป็นพฤติกรรมที่ยากจะปรับเปลี่ยนแล้ว

เราคงต้องยอมรับในความเป็นจริงข้อนี้ 

คนยุคนี้ส่วนมาก เมื่อเกิดอารมณ์ใดๆ ผุดขึ้นมาในความคิด  ไม่ว่าดีหรือร้าย บวกหรือลบ

ก็อดไม่ได้ที่จะต้อง แชะ แชร์ โชว์   บอกชาวโลกให้ร่วมรับรู้ 

ข้อมูลในห้วงอารมณ์นั้นๆ มันพลาดไม่ได้ จริงๆ เพราะหากเลยเวลา ณ จุดนั้นไป อารมณ์ก็อาจถูกกระทบด้วยสิ่งอื่นและเปลี่ยนไปสนใจจะแชร์เรื่องอื่นไปแล้ว 

แต่ก็ต้องยอมรับว่า  ชีวิตของคนแชร์ บางทีก็ขึ้นอยู่กับห้วงเวลาวินาทีนั้นเช่นกัน

มันเป็นวินาทีที่อาจต้องแลกระหว่าง การเสียโอกาสแชร์ให้โลกรู้อารมณ์ตอนนั้น  กับ เสียชีวิตทั้งหมดของตนไป 








 อ้างอิงแหล่งข่าว









วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฉลามกัดหมา : เจตนา ภาพลักษณ์ และ ความคาดหวังของชาวโลกออนไลน์



หนุ่มขับบิ๊กไบค์ชนสุนัข โพสต์ซากศพโชว์ บอกฉลามกัดหมา


   การขับขี่รถแล้วชนคน  มีกฎหมายอาญากำหนดความผิดไว้อย่างชัดเจน  

       โดยทั่วไป หากจะผิดก็คือ ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือบาดเจ็บสาหัส 

          เพราะโดยทั่วไปอีกเช่นกัน ก็คงไม่ค่อยมีกรณี เจตนาขับรถเพื่อพุ่งชนคน ทำให้ต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 

    ส่วนใหญ่ก็เป็นการกระทำโดยประมาท ขาดความระมัดระวัง  
   ซึ่งกฎหมายก็บัญญัติให้รับผิด แม้ว่ากระทำโดยไม่มีเจตนา

แต่การขับรถชน สิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่ บุคคล ตามกฎหมาย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
   
กรณี สิ่งอื่นๆ นั้น เป็นทรัพย์ ที่ บุคคลเป็นเจ้าของ  ก็อาจมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์  แต่ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา  

หากประมาท ก็คงต้องไปดูกฎหมายแพ่ง ในกรณีละเมิด  

ก็ว่ากันไปเรื่องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 

การขับรถชนสุนัข แมว ไก่ เป็ด วัว ควาย  หรือตัวอะไรก็ตาม ที่มันมักมาเดินอยู่บนถนน  ก็เช่นเดียวกัน

จะเอาความผิดฐานฆ่าคนหรือประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายก็คงไม่ได้ เพราะ สัตว์ แม้เราจะรักเหมือนคน แต่ก็ยังไม่ใช่คนตามกฎหมาย 


การขี่มอเตอร์ไซค์ชนหมา ก็เช่นเดียวกัน  


ปัญหากรณีนี้ ที่เป็นกรณีถูกแชร์ ส่งต่อ viral กันมากมาย มาจากอะไร 

ผมจำได้ว่า ทีแรกเห็นหน้าเพจอันนี้จากการที่นักศึกษาสุดสวยคนหนึ่งได้ส่งมาให้ 

เธอบอกว่าดูเพจนั้นอยู่เพราะแฟนของเธอก็เป็นผู้ชื่นชอบขี่มอไซค์บิ๊กไบค์ 

ผมก็เลยได้ตามไปดูเพจนั้นและเห็นในวันแรกๆก่อนที่จะถูกลบไป  

แต่ต่อมาหลายเว็บก็เอาภาพดังกล่าวมาลงประกอบข่าวกันแพร่หลาย  go viral ไปแล้ว


วันแรกที่เห็นภาพนี้ ก็คิดไว้แล้วว่า มันจะต้องเป็นประเด็นแน่ๆ  

ไม่ใช่เป็นประเด็นทางกฎหมายซับซ้อน 

ที่ซับซ้อนคือ ความรู้สึก  ของคนที่พบเห็น ต่อคำพูดและภาพ

ภาพที่เห็นรวมๆกันก็คือ มอเตอร์ไซค์  และ สุนัขที่นอนตายร่างขาดสองท่อน 

ประกอบกับคำพูดของคนโพสต์์ภาพว่า "ฉลามกัดหมา"  (คงอุปมาว่า บิ๊กไบค์คันใหญ่แสนแพงเป็นเหมือนกับ ฉลาม) 


ไม่ได้เห็นภาพขณะมอเตอร์ไซค์ชนสุนัข

แต่รวมๆกันแล้ว ข้อมูลประกอบกันว่า บิ๊กไบค์นั้นชนหมา 

แต่ที่ทำให้สังคมออนไลน์เกิดความรู้สึกเเป็นกระแส เกลียดชัง ต่อต้าน โกรธแค้น ก็คือ

ชาวออนไลน์ รับไม่ได้กับ คำพูดดังกล่าว ภาพเหล่านั้น 

ชาวออนไลน์ส่วนมาก รู้สึกว่า คนโพสต์ (ซึ่งอาจเป็นคนขับไปชน หรืออาจเป็นเพื่อนของเขา หรือภาพของใครสักคน) 

นั้นเป็นคนที่  "ไม่สะทกสะเทืิอน"  "ไม่สำนึกเสียใจ" "ไม่รู้สึกสำนึกผิด" 


ชาวออนไลน์ตีความว่า คนโพสต์  "รู้สึกภูมิใจ พึงพอใจ" ต่อกรณีดังกล่าว 

จึงเกิดกระแสโจมตีมากมาย 



  ที่น่าคิดคือ ชาวสังคมออนไลน์ คาดหมายสิ่งใดกันแน่
    

การกระทำที่เหมือนๆกัน ส่งผลเหมือนกัน  แต่ความรู้สึกชาวสังคมออนไลน์ อาจให้ผลการตัดสินแตกต่างโดยสิ้นเชิง


กรณีนี้ทำให้ผมนึกถึง กรณีผู้หญิงคนหนึ่งขับรถทำให้รถคันอื่นประสบอุบัติเหตุ มีผู้เสียชีวิต   

 ผู้หญิงคนนั้นถูกจับภาพได้ขณะกำลังยืนพิงกำแพงถนน เล่นโทรศัพท์ (ในสมัยนั้นว่ากันว่าเป็น "บีบี" )  

ความรู้สึกชาวเน็ต ก็เป็นคล้ายกับกรณี  "ฉลามกัดหมา" คือ

โกรธแค้น เกลียดชัง 

เพราะเห็นว่า ผู้หญิงคนนั้น ไม่รู้สึกสำนึกผิด ไม่รู้สึกเสียใจ


ในทางกลับกัน 

ถ้านักแสดงซักคนในประเทศนี้  ขับรถประมาทชนคน  แต่ภาพที่ออกมาปรากฎต่อสื่อคือ 
   
นักแสดงคนนั้น รีบใส่ชุดดำ ทำตาคล้ำๆ หน้าหมองๆ ทำตัวโทรมๆ  น้ำตาคลอๆ ยกมือไหว้ถี่ๆ

สังคมออนไลน์จะรู้สึกเปลี่ยนไปทันที 

  

ถ้าข้อเท็ํจจริงคือ
                         1  คนขี่มอเตอร์ไซค์ที่โพสต์ ฉลามกัดหมา
                        2. ผู้หญิงที่ขับรถชนคนอื่นแต่ไม่แสดงท่าทางเสียใจ   
                        3    ดาราสักคนที่ขับรถชนคน   แล้วมีทีท่าแสดงความเสียใจมากๆๆ

ถ้าทั้ง  3   กรณีนี้    ปรากฎว่า ผู้กระทำ  ในขณะชน ก็ไม่ได้เจตนา  เพียงแต่ประมาท

แต่ผลหลังจากนั้น  การจัดการภาพลักษณ์ที่แสดงออกของทั้ง 3 คน แตกต่างกัน 

ผลต่อโลกออนไลน์ และความรู้สึกของคนในโลกออนไลน์ ก็จะแตกต่างกันอย่างมากมาย



ไทยไพรเวซี่ลอว์ เห็นว่า มีข้อน่าคิดต่อไปคือ 
       ถ้าสมมุติ
     ใครสักคน มีเจตนา  ขับรถชนสุนัขที่น่ารัก จนตายคาที่  ขาดสามท่อน
           แต่หลังจากชนแล้ว  มีการจัดการภาพลักษณ์  ประกอบแอคติ้ง ดรามา 
             ที่ทำให้ชาวโลกออนไลน์ รู้สึกว่า คนที่ทำ "สำนึกผิดเสียเหลือเกิน" 
         
  ผลจะเป็นอย่งไร 


น่าคิดหรือไม่ว่า  ชาวโลกออนไลน์คาดหวังอะไรกันแน่ในสังคมโซเชียลมีเดียนี้ 
 ? 



                 thaiprivacy by kanathip  :            www.thaiprivacylaw.com